ภาษีป้าย เรื่องน่ารู้สำหรับผู้ประกอบการ

เมื่อพูดถึงการประกอบธุรกิจที่มีหน้าร้าน การใช้ป้ายเป็นอีกหนึ่งช่องทางการสื่อสารโฆษณากับกลุ่มลูกค้า สำหรับผู้ประกอบการแล้ว ค่าใช้จ่ายที่ตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้คือ “ภาษีป้าย” ซึ่งมีอัตราค่าภาษีที่แตกต่างกันไป ตามรูปแบบและขนาดของป้าย

วันที่เราจะมาทำความรู้จักกันว่า ป้ายคืออะไร แบบไหนต้องเสียภาษีป้าย แบบไหนไม่ต้องเสีย รวมถึงขั้นตอนในการยื่นขออนุญาต ขั้นตอนการเสียภาษี และบทลงโทษสำหรับผู้ประกอบการที่ไม่ปฏิบัติติตามข้อกำหนด พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510

“ป้าย” คืออะไร

ความหมายของป้ายตามที่กฎหมายกำหนดไว้ คือ ป้ายที่ปรากฏ ชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายการค้า สำหรับการประกอบกิจการ ทำการค้าหรือการโฆษณาเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของตัวอักษร ภาพ หรือสัญลักษณ์ บนวัสดุต่างๆ

ป้ายแบบไหนบ้างที่ได้รับการ “ยกเว้น” ภาษีป้าย

            1. ป้ายที่ติดในอาคาร

            2. ป้ายที่มีล้อเลื่อน (ต้องมีการเลื่อนป้ายเข้าออก)

            3. ป้ายตามงานอีเว้นท์ที่จัดเป็นครั้งคราว

            4. ป้ายของทางราชการ

            5. ป้ายของโรงเรียนทั้งรัฐและเอกชน

            6. ป้ายวัด สมาคม มูลนิธิ

และอื่นๆ ตาม พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510

อัตราในการคำนวณภาษีป้าย

1. ป้ายที่มีเฉพาะตัวอักษรภาษาไทย คิดอัตรา 3 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร

อักษรโลหะ LED ไฟออกหน้า ป้ายอักษร อักษรโลหะ

2. ป้ายที่มีอักษรภาษาไทยปนกับภาษาต่างประเทศ หรือโลโก้และภาพ และอักษรภาษาไทยทั้งหมดต้องอยู่เหนือส่วนอื่น คิดอัตรา 20 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร

อักษรพลาสวูด ป้ายอักษร อักษรโลหะ

3. ป้ายที่ไม่มีอักษรภาษาไทยอยู่ในป้าย หรือมีแต่อยู่ต่ำกว่าภาษาต่างประเทศ คิดอัตรา 40 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร

อักษรสแตนเลส ป้ายอักษร อักษรโลหะ

เพิ่มเติม สำหรับป้ายที่ถูกปะเมินภาษีน้อยกว่า 200 บาท ให้ปัดการจ่ายชำระภาษีป้าย 200 บาท และการคำนวณพื้นที่ป้าย หากมีเศษเกิน 250 ตารางเซนติเมตร ให้คิดเป็น 500 ตารางเซนติเมตร

ขั้นตอนการเสียภาษี

1. ขอคำอนุญาตโดยแจ้งขนาดพร้อมด้วยภาพถ่ายของป้ายและแผนผังที่ตั้ง แก่เจ้าหน้าที่สำนักงานเขต เทศบาล หรือ อบต.

2. ยื่นแบบฟอร์มชำระภาษีป้าย (ภ.ป.1) โดยใช้เอกสารดังนี้

  • ใบอนุญาตติดตั้งป้าย หรือใบเสร็จรับเงินค่าทำป้าย
  • รูปป้าย พร้อมขนาดกว่าง x สูง
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • กรณีเป็นนิติบุคคลให้แนบหนังสือรับรองบริษัท

3. ชำระภาษีได้ที่สำนักงานเขตหรือผ่านธนาคารกรุงไทย

  • กรณีติดตั้งใหม่ ให้ยื่นแบบ ภ.ป.1 ภายใน 15 วัน
  • กรณีชำระต่อเนื่อง ให้ยื่นแบบ ภ.ป.1 ได้ตั้งแต่เดือน ม.ค.-มี.ค. ของทุกปี
  • กรณีชำระภาษีแล้วต้องการเปลี่ยนแปลงป้าย ต้องแจ้งภายใน 15 วัน
  • หากมีการยกเลิกป้ายเนื่องจากปิดกิจการ ต้องแจ้งภายในเดือนธันวาคมของทุกปี
  • หากภาษีที่ต้องชำระมากกว่า 3,000 บาท สามารถแบ่งชำระได้ 3 งวด

บทลงโทษหากไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ภาษีป้าย

  1. ไม่ยื่นแบบภายในเวลาที่กำหนด ต้องเสียค่าปรับ 10% ของค่าภาษี
  2. ไม่ชำระเงินค่าภาษี หลังจากที่ยื่นแบบภายใน 15 วัน ต้องเสียค่าปรับ 2% ของค่าภาษี
  3. ถ้ายื่นภาษีไม่ตรงตามความเป็นจริง ต้องเสียค่าภาษีที่ขาดไปละเสียค่าปรับอีก 10% ของค่าภาษี

การคำนวณภาษีป้าย

กว้าง x ยาว / พื้นที่ 500 ตร.ซม. = พื้นที่ที่ต้องเสียภาษี

พื้นที่ที่ต้องเสียภาษี x อัตราภาษี = ภาษีป้ายที่ต้องจ่าย

 

ตัวอย่างการคำนวณภาษีป้าย

ป้ายขนาด กว้าง 1.8 เมตร x ยาว 2 เมตร คำนวณได้ดังนี้

180 x 200 ซม. / 500 ตร.ซม. = 72 ตร.ซม.

      • ป้ายประเภทที่ 1 ต้องจ่ายภาษี 72 x 3 = 216 บาท

(หากคำนวณแล้วไม่ถึง 200 บาท ต้องจ่ายขั้นต่ำ 200 บาท)

      • ป้ายประเภทที่ 2 ต้องจ่ายภาษี 72 x 20 = 1,440 บาท

ป้ายประเภทที่ 3 ต้องจ่ายภาษี 72 x 40 = 2,880 บาท

" NORTHERN ART เราพร้อมมุ่งมั่นที่จะให้บริการงานทางด้านสื่อโฆษณา แบบครบวงจร ด้วยทีมงานมืออาชีพ สร้างสรรค์ผลงานมีคุณภาพ และพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งในธุรกิจของคุณ "

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า